วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หลักการควบคุมโรคเบาหวาน

หลักการควบคุมโรคเบาหวาน


เป็นที่ทราบกันดีว่าการควบคุมโรคเบาหวานที่ดีสามารถลดโรคแทรกซ้อนได้ครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับ ตา [diabetic retinopathy] ไต [diabetic nephropathy] และปลายประสาทอักเสบ [diabetic neuropathy] การควบคุมโรคเบาหวานที่ดี ท่านผู้อ่านต้องรักษาความสมดุลของอาหาร การออกกำลังกาย และยาในการรักษาโรคเบาหวานขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และชนิดของโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็น การรักษาและควบคุมโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง อาจช่วยป้องกันอาการโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

เป้าประสงค์ของการรักษาโรคเบาหวาน การควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติจะ ทำให้เกิดผลดีหลายประการคือ

สามารถลดโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน เช่น ภาวะคีโตซีส [ diabetic ketoacidosis],ช็อกจากน้ำตาลในเลือดสูง  [hyperosmolar hyperglycemic nonketotic syndrome]
ลดอาการเนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง ตามัว น้ำหนักลด หิวบ่อย เพลีย ช่องคลอดอักเสบ
ลดโรคแทรกซ้อนทาง ตา [diabetic retinopathy]ไต [diabetic nephropathy] ปลายประสาทอักเสบ [neuropathy]
ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็ง เช่นทำให้ไขมันในเลือดใกล้เคียงปกติ
เกณฑ์การควบคุมเบาหวาน

แพทย์จะกำหนดว่าผู้ป่วยแต่ละคนที่ดูแลรักษาอยู่ควรจะควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ระดับไขมัน อยู่ในเกณฑ์เท่าใดขึ้นอยู่กับอายุ โรคร่วม พฤติกรรมการดำรงชีวิต ฐานะ  ความร่วมมือตารางข้างล่างจะแสดงระดับเป้าหมายของความดัน น้ำตาล ไขมัน น้ำหนัก ดัชนีมวลกายและความถี่ของการตรวจ
ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาผลการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่สองต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว จนกระทั่ง /ข- ปีที่ผ่านมามีการศึกษาถึงผลการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่2 โดยมีประเด็นว่าการควบคุมเบาหวานแบบเข้มงวด intensive (คุมระดับน้ำตาลโดยให้ HbA1c<6 .5=".5" p="p">
  • ผู้ป่วยที่เริ่มรักษาเบาหวานหลังจากเป็นมาไม่นาน
  • ผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c สูงไม่มาก
  • และยังไม่มีโรคแทรกซ้อนจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
สามกลุ่มดังกล่าวจะต้องคุมเบาหวานให้ดีที่สุดเพราะจะลดการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวลงได้โดยตั้งเป้า HbA1c<6 .5=".5" mg="mg" p="p">
สำหรับผู้ป่วยดังต่อไปนี้การคุมเบาหวานแบบเข้มงวดจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม
  • ผู้ที่เป็นเบาหวานมาในระยะเวลายาวนาน
  • มีประวัติเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
  • มีโรคหลอดเลือดแข็ง
  • สูงอายุหรืออ่อนแอมาก


วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เพิ่มทางเลือกสู้หวัด2009



คงเป็นที่วิตกของคนส่วนใหญ่ในตอนนี้กับโรคที่กำลังระบาด ต่างคนก็กลัว แต่แค่วิธีรักษาของหมออย่างเดียวคงไม่ทำให้ทุกคนอุ่นใจได้100% ที่นี้ขอเสนอทางเลือก ซึ่งใกล้คุณอาจจะอยู่แค่หน้าบ้านคุณ ฟ้าทลายโจร เมื่อก่อนเราอาจจะดูเป็นเพียงวัชพืช หรือดอกหญ้าที่ไม่มีประโยชน์ แต่ที่จริงสรรพคุณของมัน คุณอาจตะลึง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ใบฟ้าทะลายโจร มีสารเคมีประกอบอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ
สารแอดโดรกราโฟไลด์ (andrographolide)
สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide)
14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide)
ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเก่าแก่ของประเทศจีน ที่ใช้ในการแก้ฝี แก้อักเสบ และรักษาโรคบิด การวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนองได้ และมีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรีย เปรียบเทียบกับ เตตราซัยคลิน ในผู้ป่วย 200 ราย อายุระหว่าง16-55 ปี ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวนอุจจาระเหลว น้ำเกลือที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตราซันคลิน พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติ จะไม่มีความแตกต่างโดยในสำคัญก็ตาม ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจรไม่ได้ผลดีเท่าเตตราซัยคลิน นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ผลดีอีกด้วย มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพ็นนิซิลินเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่าง ๆ มากขึ้น
วิธีและปริมาณที่ใช้
1. ถ้าใช้แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน
ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2
ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
2. ถ้าใช้แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้
ใช้ทั้งต้นหรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ
(หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน
ตำรับยาและวิธีใช้
1. ยาชงมีวิธีทำดังนี้
- เอาใบสดหรือแห้งก็ได้ ประมาณ 5-7 ใบ แต่ใบสดจะดีกว่า
- เติมน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว
- ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอยาอุ่น แล้วรินเอามาดื่ม ขนาดรับประทาน
ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
2. ยาเม็ด (ลูกกลอน) มีวิธีทำดังนี้
- เด็ดใบสดมาล้างให้สะอาดผึ่งในที่ร่ม ห้ามตากแดด ควรผึ่งในที่มีลมโกรก ใบจะได้
แห้งเร็ว
- บดเป็นผงให้ละเอียด
- ปั้นกับน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม เป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง (หนัก 250 มิลลิกรัม)
แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นรับประทานขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก ขนาดรับประทานครั้งละ 4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
3. แค๊ปซูล มีวิธีทำคือ
แทนที่ผงยาที่ได้จะปั้นเป็นยาเม็ด กลับเอามาใส่ในแค๊ปซูล เพื่อช่วยกลบรสขมของยา แค๊ปซูล ที่ใช้ ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานครั้งละ 3-5 แค๊ปซูล วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ก่อนนอน
4. ยาทิงเจอร์หรือยาดองเหล้า
เอาผงแห้งใส่ขวด แช่สุราที่แรง ๆ เช่น สุราโรง 40 ดีกรี ถ้ามี alcohol ที่รับประทานได้ (Ethyl alcohol) จะดีกว่าเหล้า แช่พอให้ท่วมยาขึ้นมาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน จึงกรองเอาแต่น้ำ เก็บไว้ในขวดให้สะอาดปิดสนิท รับประทานครั้งละ1-2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร
5. ยาผงใช้สูดดม
คือเอายาผงที่บดละเอียด มาใส่ขวดหรือกล่องยา ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออก ผงยาจะเป็นควันลอยออกมา สูดดมควันนั้นเข้าไป ผงยาจะติดที่คอทำให้ยาไปออกฤทธิ์ที่คอโดยตรง ช่วยลดเสมหะ และแก้เจ็บคอได้ดี วิธีที่ดีกว่านี้คือวิธีเป่าคอ กวาดคอ หรือรับประทานยาชง ตรงที่คอจะรู้สึกขมน้อยมาก ไม่ทำให้ขยาดเวลาใช้ ใช้สะดวกและง่ายมาก ประโยชน์ที่น่าจะได้รับเพิ่มก็คือ ผงยาที่เข้าไปทางจมูก อาจจะช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูกด้วย
ขนาดที่ใช้
สูดดมบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดยาไปสักพัก จนความรู้สึกนั้นหายไป จึงค่อยสูดใหม่
ข้อควรรู้เกี่ยวกับตำรับยา
สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) สารในต้นฟ้าทะลายโจร ละลายในแอลกอฮอร์ได้ดีมาก ละลายในน้ำได้น้อย ดังนั้นยาทิงเจอร์ หรือยาดองเหล้าฟ้าทะลายโจร จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ยาชงมีฤทธิ์แรงรองลงมา ยาเม็ดมีฤทธิ์อ่อนที่สุด
ข้อควรระวัง
บางคนรับประทาน ยาฟ้าทะลายโจร จะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าแพ้ยา ให้หยุดยา และเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือลดขนาดรับประทานลง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees

ชื่อสามัญ : Kariyat , The Creat

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน

สรรพคุณ
มี 4 ประการคือ
แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี
แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
เป็นยาขมเจริญอาหาร
และการที่ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณ 4 ประการนี้ จึงชวนให้เห็นว่าตัวยาต้นนี้ เป็นยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จากเหตุผลที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ตามัว

1. ถ้ามีอาการตามืดมัวลงทันทีทันใด หรือปวดตาอย่างรุนแรง หรือเป็นหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ หรือกระจกตามีฝ้าขาววหรือเป็นแผล รีบไปหาหมอทันที
2. ถ้าเกิดขึ้นช้าๆ เป็นแรมปี โดยไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ในผู้สูงอายุ และแก้วตา (ตรงกลางตาดำ) มีลักษณะขุ่นมัว มีสาเหตุจากต้อกระจก ควรไปหาหมอเมื่อมีโอกาส
3. ถ้ามีอาการตามัว โดยไม่เข้าลักษณะดังกล่าวทั้งสองข้อ ควรไปหาหมอ

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิธีรักษาริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร
วิธีทำ
นำกล้วยหอม 1 ใบ ไม่ต้องปลอกเปลือก นำไปต้มน้ำจนสุก
รับประทานกล้วยที่ต้มแล้วทั้งเปลือกก่อนนอนเพราะเปลือกมีกำมะถันระษาโรค
แล้วดื่มน้ำอุ่นตาม

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะ
วิธีทำ ให้เอากล้วยน้ำว้าดิมมาฝานบางๆ ตากแดดให้แห้งสนิท แล้วป่นให้เป็นแป้ง เวลากินตักครั้งล่ะ 1 ช้อนชา
ใส่น้ำสุกอุ่นๆ แล้วดื่ม

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทากดูดเลือด วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1. ห้ามดึงออก เพราะเลือดจะหยุดยาก
2. จี้ตัวทากด้วยธูปติดไฟ, หรือไม่ขีดไฟ, อาจใฃ้เกลือป่นโรย, น้ำส้มสายชู, เหล้าหรือน้ำมันราดตัวทาก ทากจะหลุด
3. ล้างแผลให้สะอาดแล้วใส่ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือน้ำยาโพวิโดนไอโอดีน

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตะคริว

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1. นวดบริเวณกล้ามเนื้อที่ปวด, อาจใช้ยาหม่องหรือน้ำมันหรือครีมนวดกล้าวเนื้อ
2. ถ้าเป็นที่น่องให้เหยียดขาออก
3. ถ้าเป็นตะคริวหลังจากเสียเหงื่อมาก, ให้ดื่มน้ำเกลือ (เกลือ 1 ช้อนชาในน้ำครึ่งขวดน้ำปากกลม)